top of page

การเรียนรู้แบบร่วมมือ

 (Cooperative Learning)

 

การเรียนรู้แบบร่วมมือหรือการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยมีหลักการสำคัญคือ การให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มโดยยึดแนวคิดที่ว่า “ความสำเร็จของสมาชิกทุกคนจะรวมเป็นความสำเร็จของกลุ่ม” (สุคนธ์ และคณะ, 2545) สืบเนื่องจากหลักการนี้ Roger (1997) ชี้ให้เห็นปัจจัยสำคัญประการ ได้แก่ Positive interdependence หรือการพึ่งพากันและกันในทางบวก และ Individual accountability คือ การมีส่วนในความรับผิดชอบในหน้าที่หนึ่งของกลุ่มการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ถือว่าผู้เรียนนำเอาประสบการณ์เดิมไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความรู้สึกหรือทักษะเข้ามาในชั้นเรียน และจะพัฒนาความรู้นั้นต่อไปขณะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานครูและสภาพแวดล้อม ดังนั้น ครูเป็นเพียงผู้ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคน และเป็นผู้ช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงแนวคิด การเรียนรู้แบบร่วมมือมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างกลุ่มผู้เรียนซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยผ่านการพิจารณาแนวคิดของเพื่อนๆ ผ่านการสะท้อนความคิดเห็น และให้เหตุผลกับแนวคิดของตนเอง (วรรณทิพา, 2541) การเรียนรู้แบบร่วมมือไม่ใช่เป็นการจัดให้ผู้เรียนนั่งทำงานเป็นกลุ่ม แบบที่เรียกกันว่า “Group work” แต่ต้องอาศัยกระบวนการของกลุ่ม ซึ่งผู้เรียนต้องเข้าใจและตระหนักในหน้าที่และความสำคัญของตนเองที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่ม (Gillies, 2004) งานหรือปัญหาที่ให้นักเรียนร่วมมือกันทำ ควรมีลักษณะที่กระตุ้นให้สมาชิกได้มีโอกาสสื่อสาร อภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันและสร้างเป็นองค์ความรู้ของกลุ่ม ซึ่งจะนำมาซึความสำเร็จร่วมกัน

 

เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

 

            การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีเทคนิคต่าง ๆ มากมาย สุคนธ์และคณะ (2545)ได้กล่าวถึงเทคนิคต่างๆดังต่อไปนี้ เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw) เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT: Team Games Tournament) เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ (STAD: Student Teams Achievement Division) เทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: GroupInvestigation) เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share) เทคนิคคู่คิดสี่สหาย (Think-Pair-Square) เทคนิคคู่ตรวจสอบ(Pairs Check) เทคนิคการสัมภาษณ์ 3ขั้นตอน (Three-Step Interview) เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered HeadsTogether) เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง (Roundrobin) เทคนิคโต๊ะกลม (Roundtable) เทคนิคการเรียนร่วมกัน (LearningTogether) และเทคนิคช่วยกันคิดช่วยกันเรียน (TAI: Team Assisted Individualization) ในที่นี้ขอกล่าวถึงเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่เรียกว่า เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style)

 

             สรัญญา รุจิเรขเรืองรอง*รูปแบบการเรียนรู้ เป็นลักษณะเฉพาะของคนแต่ละคนซึ่งบูรณาการ 1 ลักษณะทางกายภาพ อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดปรากฏให้เห็นว่า คนแต่ละคน เรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไรเนื่องจากคนทุกคนมีจุดเด่น จุดด้อย ต่างกัน และมีความชอบที่แตกต่างกัน บางคนเรียนได้ดีด้วยการฟัง บางคนเรียนได้ดีด้วยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ (จด, บันทึก) บางคนชอบลงมือปฏิบัติ หลายคนเรียนรู้ได้ดีเมื่อเข้าอยู่เป็นกลุ่ม บางคนชอบทำงานคนเดียว… จึงไม่มีวิธีใดดีที่สุดสำหรับคนทุกคนนอกจากนี้ สิ่งเร้าต่าง ๆ อันได้แก่ สภาพแวดล้อม อารมณ์ สภาพทางสังคม เศรษฐกิจสถานะของครอบครัว ลักษณะทางกายภาพ และสภาวะทางจิตใจ ยังมีผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ของบุคคลแต่ละคนการศึกษาเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตได้ คล้ายบุคลิกภาพมากกว่าศึกษาพฤติกรรมตามพื้นฐานทางจิตวิทยา จำไว้ว่า รูปแบบการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนได

 


ทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้

             จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียนทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้ Learning Style
จำแนกตามแบบการคิด(สภาพความคิดของบุคคล ที่มีผลมาจากสภาพแวดล้อมลักษณะทางกายภาพ ฯลฯ)รูปแบบการเรียนรู้ 
จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียน เช่น :-

ทฤษฎีของ Grasha & Reichman

1. แบบแข่งขัน - ชอบเอาชนะเพื่อน
2. แบบอิสระ - เชื่อมั่น
3. แบบหลีกเลี่ยง - ไม่สนใจ
* อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร
1 รวมหน่วยต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
4. แบบพึ่งพา - อาจารย์และเพื่อน เป็นแหล่งความรู้
5. แบบร่วมมือ - ร่วมมือแสดงความเห็น ทั้งในและนอกชั้นเรียน
6. แบบมีส่วนร่วม - จะพยายามมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ในกิจกรรมการเรียน (ในชั้นเรียน)แต่จะไม่สนใจกิจกรรมนอกหลักสูตรเลย

รูปแบบการเรียนรู้ จำแนกตามแบบการคิด เช่น :-

ทฤษฎีของ วิทคิน และคณะ

1. แบบพึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field dependent)
2. แบบไม่พึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field independent)

ทฤษฎีของ คาร์ล จี จุง

แบ่งคนเป็น 2 แบบ
1. พวกเก็บตัว (Introver)
2. พวกแสดงตัว (Extrover)

ทฤษฎีของ Kagan และคณะ แบ่งวิธีคิดของมนุษย์เป็น 3 ประเภท

1. คิดแบบวิเคราะห์ Analytical Style รับรู้สิ่งเร้าในรูปของส่วนย่อยมากกว่าส่วนรวม นำส่วนย่อยมาประกอบเป็นความนึกคิด
2. คิดแบบโยงความสัมพันธ์ Relational Style พยายามโยงสิ่งต่าง ๆ ให้มาสัมพันธ์กัน
3. แบบจำแนกประเภท Categorical Style จัดสิ่งเร้าเป็นประเภทตามความรู้หรือประสบการณ์ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสิ่งเร้านั้น
ทฤษฎีของ Honey & Mumford แบ่งคนเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
รับรู้ประสบการณ์ใหม่ Pragmatist Activist
นักปฏิบัติ นักกิจกรรม
ประยุกต์สู่การปฏิบัติ พิจารณาไตร่ตรองTheorist Reflector
นักทฤษฎี นักไตร่ตรอง นำไปสร้างเป็นทฤษฎี

- สรุป -

รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นบุคลิกของนักศึกษาที่อธิบายว่า
- นักศึกษาเรียนอย่างไรที่จะทำให้เข้าใจเนื้อหาวิชาได้ดีที่สุด
- นักศึกษามีพฤติกรรมเฉพาะบุคคลอย่างไรเก็บตัว แสดงตัวรอบคอบ หุนหันพลันแล่นตัดสินใจด้วยญาณวิถี ตัดสินใจด้วยเหตุผล
- นักศึกษามีความสามารถในการรับและคงไว้ซึ่งสิ่งที่เรียนอย่างไร
* เป็นยุทธวิธีที่นักศึกษาชอบใช้ในการเรียน
* เป็นลักษณะที่ปรากฏให้เห็นได้ว่า คนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร

 

 

back

bottom of page